วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิชาฐานข้อมูล คำถามท้ายบทที่ 5 Entity Relationship Model

" วิชาฐานข้อมูลเบื้องต้น (4122201) ตอนเรียน A1”

1.      องค์ประกอบที่สำคัญของแบบจำลองอี-อาร์ มีไรบ้าง
            ตอบ มีองค์ประกอบหลักอยู่  3  ประการ  คือ  เอนทิตี้ แอตทิบิวต์ และความสัมพันธ์  โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังหัวข้อต่อไปนี้
·       เอนทิตี้ หมายถึง  สิ่งที่สนใจสามารถระบุได้ในความเป็นจริง  และต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยไว้ในฐานข้อมูล  โดยตัวอย่างของเอนทิตี้ประเภทต่าง ๆ  เช่น  บุคคล  สถานที่  วัตถุ  หรือ เหตุการณ์  มีดังนี้
1.บุคคล ได้แก่  พนักงาน  ลูกค้า  นักศึกษา  เป็นต้น
2.สถานที่ ได้แก่  จังหวัด  ที่อยู่  ประเทศ  เป็นต้น
3.วัตถุ ได้แก่  เครื่องจักร  สินค้า  เป็นต้น
4.เหตุการณ์ ได้แก่  การซื้อสินค้า  การลงทะเบียน  เป็นต้น
     แบบจำลอง  อี-อาร์  จะใช้สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแทน 1 เอนทิตี้  โดยมีชื่อของเอนทิตี้นั้น ๆ  กำกับอยู่ภายในเอนทิตี้สามารถแบ่งเป็น2ประเภทคือเอนทิตี้ปกติเอนทิตี้อ่อนแอ โดยมีความหมายดังนี้
เอนทิตี้ปกติ (Strong Entity) หมายถึง  เอนทิตี้ที่สนใจและต้องการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ในระบบฐานข้อมูล  ซึ่งการคงอยู่ของเอนทิตี้นี้ไม่เกี่ยวข้องกับเอนทิตี้อื่น  โดยเอนทิตี้นี้สามารถมีคุณสมบัติ Identity  ได้ด้วยตัวเอง  ตัวอย่างของเอนทิตี้ปกติแสดงไว้ในรูปที่  2.1
เอนทิตี้อ่อนแอ (Weak Entity) หมายถึง  เอนทิตี้ที่มีการคงอยู่เกี่ยวข้องกับเอนทิตี้อื่นในระบบฐานข้อมูล  โดยเอนทิตี้อื่นที่มีความสัมพันธ์กับเอนทิตี้นี้เรียกว่า  Parent  Entity  หรือ  อาจกล่าวได้ว่า  เอนทิตี้อ่อนแอจะไม่มีความหมาย หรือไม่สามารถปรากฏในฐานข้อมูลได้  หากปราศจาก  Parent Entity  ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน  ซึ่งสมาชิกของเอนทิตี้อ่อนแอจะสามารถมีคุณสมบัติ Identity  ได้ก็ต่อเมื่ออาศัย  Property  ใด  Property  หนึ่ง  ของเอนทิตี้ปกติมาประกอบกับ Property ของเอนทิตี้นั้น ๆ
            แบบจำลองอี-อาร์  จะใช้สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2  รูปซ้อนกันแทน 1  เอนทิตี้อ่อนเอ  โดยมีชื่อของเอนทิตี้นั้น ๆ กำกับอยู่ภายใน
·      แอตทิบิวต์  (Property) หมายถึง  คุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละเอนทิตี้ 
เช่น  แอตทิบิวต์ของเอนทิตี้พนักงานประกอบด้วย  รหัสพนักงาน  ชื่อ-นามสกุล  ที่อยู่  เพศ  อายุ  เป็นต้น 
แบบจำลองอี-อาร์  จะใช้สัญลักษณ์รูปวงรีแทน  1 แอตทิบิวต์ โดยมีชื่อของแอตทิบิวต์นั้น ๆ กำกับอยู่ภายใน  และเชื่อมต่อกับเอนทิตี้ นั้น ๆ ด้วยเส้นตรง
แอตทิบิวต์สามารถแบ่งเป็น  6  ประเภทดังนี้
1.  Simple Property  หมายถึง แอตทิบิวต์ที่สามารถแบ่งแยกย่อยลงไปได้อีก เช่น แอตทิบิวต์ชื่อนามสกุลและเพศ เป็นต้น   แบบจำลองอี-อาร์  จะใช้สัญลักษณ์แทน Simple Property เช่นเดียวกับแอตทิบิวต์
2.  Composite Property หมายถึง  แอตทิบิวต์ที่ลักษณะตรงข้ามกับ Simple  Property คือ  สามารถแบ่งแยกย่อยลงไปได้อีก  เช่น  แอตทิบิวต์ชื่อ นามสกุล  สามารถแบ่งได้  2  Simple  Property  คือ  แอตทิบิวต์ชื่  และแอตทิบิวต์นามสกุล   แบบจำลองอี-อาร์  จะใช้สัญลักษณ์รูปวงรีที่มีชื่อของแอตทิบิวต์นั้นกำกับอยู่ภายใน  แทน 1  Composite Property และเชื่อมต่อกับ Simple Property ที่จำแนกออกไปด้วยเส้นตรง
3.  Key Property หมายถึง  แอตทิบิวต์หรือกลุ่มของแอตทิบิวต์  ที่มีค่าของข้อมูล  ในแต่ละสมาชิกของเอนทิตี้ไม่ซ้ำกัน  ทำให้สามารถระบุความแตกต่างของแต่ละสมาชิกในแต่ละเอนทิตี้ได้  เช่น  เอนทิตี้พนักงานประกอบด้วย  แอตทิบิวต์  รหัสพนักงาน  ชื่อ-นามสกุล  โดยแอตทิบิวต์ที่สามารถบอกความแตกต่างของพนักงานแต่ละคนได้  คือ  รหัสพนักงาน  ดังนั้นแอตทิบิวต์รหัสพนักงานจึงเป็น Key Property  ของเอนทิตี้พนักงาน  เป็นต้น
            แบบจำลองอี-อาร์  จะใช้สัญลักษณ์รูปวงรี  ที่มีชื่อของแอตทิบิวต์นั้นกำกับอยู่ภายใน  โดยมีการขีดเส้นใต้แทน  Key Property และเชื่อมต่อกับเอนทิตี้ที่มีแอตทิบิวต์นั้นด้วยเส้นตรง
4.  Single – Valued Property หมายถึง  แอตทิบิวต์ที่มีค่าของข้อมูลในแต่ละสมาชิกของเอนทิตี้ได้เพียงค่าเดียว  เช่น  บุคคลหนึ่งคนมีเพียงเพศเดียว  แอตทิบิวต์เพศจึงเป็น Single – Valued  Property  หรือพนักงานหนึ่งคนมีเงินเดือนเพียงค่าเดียว  แอตทิบิวต์เงินเดือนจึงเป็น Single – Valued  Propertyแบบจำลองอี-อาร์  จะใช้สัญลักษณ์แทน Single – Valued Property เช่นเดียวกับแอตทิบิวต์
5.  Multi-Valued Property หมายถึง   แอตทิบิวต์ที่ลักษณะตรงข้ามกับ Single-Valued Property โดยเป็นแอตทิบิวต์ที่สามารถมีคุณค่าของข้อมูลในแต่ละสมาชิกของเอนทิตี้ได้หลายภาค เช่น บุคคลหนึ่งคนอาจมีวุฒิการศึกษาได้หลายระดับ แอตทิบิวต์การศึกษาจึงเป็น Multi-Valued Property  แบบจำลองอี-อาร์  จะใช้สัญลักษณ์รูปวงรี ที่มีชื่อของแอตทิบิวต์กำกับอยู่ภายในแทน 1 Multi-Valued Property และเชื่อมต่อกับเอนทิตี้นั้นด้วยเส้นคู่
6.  Derived Property หมายถึง  แอตทิบิวต์ค่าของข้อมูลในแต่ละสมาชิกของเอนทิตี้ได้มาจากการนำค่าของข้อมูลในแอตทิบิวต์อื่น  ในแต่ละสมาชิกของเอนทิตี้มาทำการคำนวณ  ซึ่งโดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องจัดเก็บแอตทิบิวต์นี้ไว้ในระบบฐานข้อมูล  เนื่องจากแอตทิบิวต์นี้จะมีการเปลี่ยนแปลงค่าทุกครั้ง  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าของข้อมูลในแอตทิบิวต์ที่ถูกนำมาคำนวณ  เช่น  แอตทิบิวต์อายุปัจจุบันสามารถคำนวณได้จากแอตทิบิวต์วันเดือนปีเกิด  เป็นต้น  แบบจำลองอี-อาร์  จะใช้สัญลักษณ์รูปวงรี  ที่มีชื่อของแอตทิบิวต์นั้นกำกับอยู่ภายใน แทน 1 Derived Property และเชื่อมต่อกับเอนทิตี้ที่มีแอตทิบิวต์นั้นด้วยเส้นประ
·            ความสัมพันธ์ (Relationship)  หมายถึง  ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้  ความสัมพันธ์แต่ละอันจะถูกระบุด้วยชื่อที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์นั้น ๆ การตั้งชื่อความสัมพันธ์โดยทั่วไปจะใช้คำกริยาทีแสดงการกระทำ  เช่น  มี  สอน  เป็นต้น  แบบจำลองอี-อาร์จะใช้สัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแทน 1ความสัมพันธ์  โดยมีชื่อของความสัมพันธ์นั้น ๆ กำกับอยู่ภายใน  และเชื่อมต่อกับเอนทิตี้ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์นั้นด้วยเส้นตรงลักษณะความสัมพันธ์ของข้อมูลแบ่งได้เป็น  3 ลักษณะดังนี้
1.    ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
            ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง หมายถึง ความสัมพันธ์ที่แต่ละสมาชิกในเอนทิตี้หนึ่งมีความสัมพันธ์กับสมาชิกในอีกหนึ่งเอนทิตี้เพียงสมาชิกเดียว หรือกล่าวได้ว่า  ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์แบบ หนึ่งต่อหนึ่ง  เช่น  เอนทิตี้อาจารย์  และเอนทิตี้คณะ  มีความสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง  กล่าวคือ  แต่ละคณะมีคณบดีเพียงหนึ่งคนเท่านั้น และมีเพียงอาจารย์เพียงหนึ่งคนเท่านั้นเป็นคณบดี  เป็นต้น  แบบจำลองอี-อาร์ จะใช้สัญลักษณ์ 1 : 1 กำกับเหนือเส้นที่เชื่อมต่อระหว่างความสัมพันธ์และเอนทิตี้ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์นั้น
2.   ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม
            ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม  หมายถึง  ความสัมพันธ์ที่แต่ละสมาชิกในเอนทิตี้หนึ่งมีความสัมพันธ์กับสมาชิกในอีกหนึ่งเอนทิตี้มากกว่าหนึ่งสมาชิกหรือกล่าวได้ว่า  ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม  เช่น  เอนทิตี้พนักงาน และเอนทิตี้แผนก มีความสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อกลุ่ม  กล่าวคือ  พนักงานแต่คนมีสังกัดอยู่เพียงแผนกเดียว  และในหนึ่งแผนกจะมีพนักงานในสังกัดได้หลายคน  เป็นต้น  แบบจำลองอี-อาร์  จะใช้สัญลักษณ์  1:M กำกับเหนือเส้นที่เชื่อมต่อระหว่างความสัมพันธ์และเอนทิตี้ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์นั้น 
3.  ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
            ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม  หมายถึง  ความสัมพันธ์ที่สมาชิกมากกว่าหนึ่งสมาชิกใน
เอนทิตี้หนึ่ง  มีความสัมพันธ์กับสมาชิกในอีกหนึ่งเอนทิตี้มากกว่าหนึ่งสมาชิก  หรือกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม  เช่น  เอนทิตี้ลูกน้องและเอนทิตี้หัวหน้า  มีความสัมพันธ์กับแบบกลุ่มต่อกลุ่ม  กล่าวคือ  ลูกน้องแต่ละคนสามารถมีหัวหน้าได้หลายคนและ  แต่ละหัวหน้ามีลูกน้องได้หลายคน เป็นต้น  แบบจำลองอี-อาร์ จะใช้สัญลักษณ์ M : M กำกับเหนือเส้นที่เชื่อมต่อระหว่างความสัมพันธ์และเอนทิตี้ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์นั้น 


                                         ********************************


2.   จงอธิบายความหมายและสัญลักษณ์ของคำต่อไปนี้
ตอบ     2.1 เอนทิตี หมายถึง  ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปรียบเสมือนคำนาม  อาจได้แก่  คน  สถานที่  สิ่งของ  การกระทำ  ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้  เช่น เอนทิตี้ของลูกค้า เอนทิตี้ของพนักงาน เป็นต้น  บางเอนทิตี้อาจจะไม่มีความหมายเลย  หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล  เช่น  เอนทิตี้ประวัตินักสึกษาจะไม่มีความหมาย  หากปราศจากเอนทิตี้นักศึกษา  เพราะจะไม่ทราบว่าเป็นประวัติของนักศึกษาคนใด
                        2.2 รีเลชันชิพ คือ ความสัมพันธ์ซึ่งเป็นลักษณะการเกี่ยวพันกันระหว่างเอนทิรีหนึ่งกับตัวมันเองหรือ  เอนทิตีอื่น   อาจเป็นความสัมพันธ์ที่มากกว่า  เอนทิตีก็ได้  เช่น  แผนกจัดซื้อทำการสั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ
                        2.3 แอตทรีบิวต์ คือ กลุ่มของค่าความจริงใด ๆ ที่เป็นรายละเอียดของเอนทิตีซึ่งแสดงลักษณะ แล คุณสมบัติของเอนทิตี  ทำให้เข้าใจเอนทิตีได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น  และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแตกย่อยลงไปได้อีกโดยไม่เสียความหมายไป  เช่น  รหัสสินค้า, สถานที่เก็บชื่อสินค้า, ราคา  นอกจากนั้นยังมีการระบุด้วยว่าแอตตริบิวใดเป็นคีย์กำหนดกฎข้อบังคับต่าง ๆ ของเอนทิตีและรีเลชันชิป
                        2.4 คอมโพสิตแอทริบิวต์  หมายถึง แอททริบิวต์ที่ประกอบด้วยแอททริบิวต์หลายตัวมารวมกัน  และให้ความหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ที่อยู่  ประกอบด้วยแอททริบิวต์ย่อยคือ บ้านเลขที่  ถนน  ตำบล  อำเภอ  จังหวัด เป็นต้น
                        2.5 แอทริบิวต์ที่ทีหลายค่า คือ แอททริบิวต์ที่มีค่าได้มากกว่า  ค่า  เช่น  บุคคลหนึ่งสามารถมีวุฒิการศึกษาได้มากกว่า  วุฒิ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เส้นคู่แล้วเชื่อมโยงไปยังแอททริบิวต์
                        2.6 ดีไรฟต์แอทริบิวต์ คือ  แอททริบิวต์ที่ได้ค่ามาจากการคำนวณของแอททริบิวต์อื่น  เช่น อายุได้มาจาก วันเดือนปีเกิด  แทนด้วยสัญลักษณ์เส้นประที่เชื่อมโยงไปยังแอททริบิวต์


*********************************

3.  คอมโพสิตเอนทิตี้มีความสำคัญอย่างไรในการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
          ตอบ เอนทิตีที่สร้างขึ้นเพื่อแปลงความสัมพันธ์ระหว่างแบบกลุ่มต่อกลุ่มให้เป็นหนึ่งต่อกลุ่ม โดยนำเอาคีย์หลักของทั้งสองเอนทิตีมาเป็นแอททริบิวต์ของเอนทิตีใหม่   เช่น  ความสัมพันธ์ระหว่างสินค้ากับใบสั่งซื้อเป็นเแบบกลุ่มต่อกลุ่ม คือใบสั่งซื้อหนึ่งใบมีสินค้าได้หลายรายการ และสินค้าแต่ละรายการถูกสั่งซื้อโดยใบสั่งซื้อหลาย ๆ ใบ  ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่มก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลจึงลดความซ้ำซ้อน โดยทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตีแบบกลุ่มต่อกลุ่ม เป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม โดยการสร้างคอมโพสิตเอนทิตี


**********************************************************


4.     เอนทิตีอ่อนแอคืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร
            ตอบ เอนทิตีอ่อนแอ หมายถึง  เอนทิตีที่คงอยู่ได้โดยเกี่ยวข้อง  หรือขึ้นตรงต่อกับเอนทิตีอื่น
                ตัวอย่าง  บริษัทแห่งหนึ่งเก็บข้อมูลพนักงาน และครอบครัวพนักงาน เพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงาน ถ้าพนักงานคนใดลาออกจากงาน ข้อมูลครอบครัวพนักงาน จะถูกยกเลิกหรือลบทิ้งตามไปด้วย นั่นคือข้อมูลครอบครัวพนักงานขึ้นตรงต่อข้อมูลพนักงาน จึงถือว่าเอนทิตีครอบครัวพนักงานเป็นเอนทิตีชนิดอ่อนแอ และเอนทิตีพนักงานเป็นเอนทิตีปกติ ซึ่งเขียนเป็นแผนภาพอี-อาร์โดยใช้สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมผืนผ้าแทนเอนทิตีปกติและใช้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสองรูปซ้อนกันแทนเอนทิตีอ่อนแอ

**************************************************************
                                                                                                                                                          
จากตารางข้อมูลที่กำหนดให้
5.1  จงเขียน E-R Diagram แสดงความสำคัญของตาราง
          ตอบ     ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อกำหนดของระบบงานข้อมูลหนังสือแต่ละรายการ ข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย รหัสหนังสือ, ชื่อหนังสือ, รหัสผู้แต่ง, รหัสสำนักพิมพ์ข้อมูลผู้แต่งหนังสือ ข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย รหัสผู้แต่ง , ชื่อผู้แต่งข้อมูลสำนักพิมพ์ ข้อมูลที่จัดเก็บประกอบด้วย รหัสสำนักพิมพ์ , ชื่อสำนักพิมพ์, ที่อยู่, โทรศัพท์  
                        ขั้นที่ 2 กำหนดเอนทิตี้ (Entity)


                        ขั้นที่ 3 กำหนดความสัมพันธ์ของแต่ละเอนทิตี้ (Entity)
- หนังสือแต่ละเล่มจะถูกพิมพ์จากสำนักพิมพ์ใดสำนักพิมพ์หนึ่งเท่านั้นแต่ละสำนักพิมพ์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้หลายรายการ
- หนังสือแต่ละเล่มจะมีผู้แต่งได้เพียงคนเดียวเท่านั้นแต่ผู้แต่งแต่ละคนสามารถจะแต่งหนังสือได้หลายเล่ม

E –R Diagram ที่สมบูรณ์

5.2  จงบอกว่าแต่ละตารางมี Field ใดเป็น Primary Key
       ตอบ   - ในตารางผู้แต่งจะมี Field รหัสผู้แต่ง เป็น Primary Key
           - ในตารางสำนักพิมพ์จะมี Field รหัสสำนักพิมพ์ เป็น Primary Key
           - ในตารางหนังสือจะมี Field รหัสหนังสือ เป็น Primary Key
5.3  สำหรับตารางที่มี Foreign Key จงบอกว่าเป็น Field ใดและมีความสัมพันธ์กับ Field ใดในตารางใด
      ตอบ   จากฐานข้อมูลของระบบหนังสือจะประกอบไปด้วยตาราง 3 ตาราง ซึ่งแต่ละตารางจะมี Field ที่เชื่อมโยงถึงกันทั้ง 3 ตาราง
          - ตารางผู้แต่ง (รหัสผู้แต่ง, ชื่อผู้แต่ง)
          - ตารางสำนักพิมพ์ (รหัสสำนักพิมพ์, ชื่อสำนักพิมพ์, โทรศัพท์)
          - ตารางหนังสือ (รหัสหนังสือ, ชื่อหนังสื่อ, รหัสผู้แต่ง, รหัสสำนักพิมพ์

**********************

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชาฐานข้อมูล

การบ้านบทที่ 4 ประจำวันที่ 24 พ.ย. 53


1.โครงสร้างข้อมูลเชิงสัมพันธ์ประกอบด้วยอะไรบาง จงอธิบาย
- เอนทิตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูลไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน
- เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Weak Entity) เป็นเอนทิตี้ที่ไม่มีความหมาย หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล
แอททริบิวต์ (Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น  เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย - แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา
- แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษา
- แอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา

2. คุณสมบัติในการจัดเก็บข้อมูลของรีเลชั่นมีอะไรบ้าง
- 1. รีเลชั่นต้องมีชื่อกำกับ แต่ละชื่อต้องแตกต่างกัน ซ้ำกันไม่ได้
   2. แต่ละแอตตริบิวต์ของรีเลชั่นจะบบรจุได้เพียงค่าเดียว (Single value)
   3. ชื่อในแต่ละแอตตริบิวต์ต้องแตกต่างกัน ชื่อจะซ้ำกันไม่ได้
   4. ค่าของข้อมูลในแอตตริบิวต์เป็นไปตามข้อกำหนดของโดเมนในแอตตริบิวต์นั้นๆ
   5. การเรียงลำดับของแต่ละแอตตริบิวต์ไม่มีความสำคัญใดๆ
   6. แต่ละทูเพิลต้องมีความแตกต่างกัน จะไม่มีทูเพิลที่ซ้ำกัน
   7. การเรียงลำดับของทูเพิลไม่มีความสำคัญใดๆ  

3. รีเลชั่นประกอบด้วยคีย์ประเภทต่าง ๆ อะไรบางจงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบประเภทคีย์ดังกล่าว
ประเภทของคีย์ (Relation keys)
    ใน ฐานข้อมูลจะมีข้อมูลอยู่เป็นจานวนมาก โดยเฉพาะฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ก็จะมีข้อมูลจานวนมากที่มีความคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันออกไป ทาให้การแยกแยะหรือจัดการข้อมูลทาได้ยาก ดังนั้นจึงกาหนดคีย์ (keys) ขึ้นมาคีย์ คือ แอททริบิวต์หรือกลุ่มของแอททริบิวต์ ที่ใช้ในการระบุค่าต่าง ๆ ของทูเพิล เพื่อความเป็นเอกลักษณ์ (unique) หรือเป็นสิ่งที่ใช้กาหนดความเป็นเอกลักษณ์ของทูเพิล โดยคีย์มีหลายประเภท ดังนี้
คีย์หลัก (Primary key)
            หมายถึง คีย์ที่มีคุณสมบัติในการระบุค่าต่าง ๆ ของแต่ละทูเพิลในรีเลชั่นได้ เป็นเอกลักษณ์(Unique) หรือมีค่าไม่ซ้ำกัน และมีเป็นค่าว่าง (Null) ไม่ได้ คีย์หลักจะประกอบด้วยหนึ่งแอททริบิวต์หรือหลายแอททริบิวต์ก็ได้
คีย์คู่แข่ง (Candidate key)
            หมายถึง ในรีเลชั่นหนึ่ง ๆ มีคีย์ที่สามารถเป็นคีย์หลักได้มากกว่าหนึ่ง แอททริบิวต์ แต่เมื่อแอททริบิวต์ใดที่ถูกเลือกเป็นคีย์หลักแล้ว คีย์คู่แข่งที่เหลืออยู่ก็จะมีชื่อใหม่เรียกว่า คีย์ส้ารอง (secondary key หรือAlternate key)

คีย์สำรอง (Secondary key หรือ Alternate key)
            หมายถึง คีย์คู่แข่งที่ไม่ได้ถูกเลือกเป็นคีย์หลัก โดยคีย์สำรองจะไม่มีคุณสมบัติ ความเป็นเอกลักษณ์ ถ้ามีการค้นหาข้อมูลจะได้ข้อมูลมากกว่าหนึ่งข้อมูล เพราะคีย์สำรองมีค่าซ้ำได้

คีย์นอก(Foreign key)
            หมายถึง แอททริบิวต์หรือกลุ่มของแอททริบิวต์ในรีเลชั่นหนึ่ง ที่ใช้ในการอ้างอิงถึง แอททริบิวต์เดียวกันในอีกรีเลชั่นหนึ่งที่เป็นคีย์หลัก คีย์นอกเป็นคีย์ที่ใช้ในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชั่น ของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ดังนั้นในการเปลี่ยนแปลงค่าของคีย์นอกหรือคีย์หลักที่เชื่อมความสัมพันธ์กัน อยู่จึงเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก ซึ่งในการจัดการฐานข้อมูลจะต้องมีกฏเกณฑ์และเงื่อนไข เพื่อท้าให้ฐานข้อมูลถูกต้องตลอดเวลา และขึ้นอยู่กับ DBMS ที่สามารถควบคุมความถูกต้องของฐานข้อมูลนั้น ๆ ด้วย



4. Null หมายถึงอะไรใน Relational Database
     - ค่าว่าง (Null Values)
              ค่าของ Attribute อาจจะเป็นค่าว่าง (Null) คือ ไม่มีค่าหรือยังไม่ทราบค่าได้ ตัวอย่างเช่น
จำนวนไข่ของนกกระจอกเทศ จะสามารถบอกได้เมื่อนกกระจอกเทศออกไข่แล้ว แต่ยังไม่ทราบค่า ใน
ขณะที่จำนวนไข่ของช้างนั้นไม่มีค่า เป็นต้น
5. เหตุใดจึงต้องมีการนำ Integrity rule มาใช้ในฐานข้อมูล
     - สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
  การกำหนด Entity Integrity Rule เป็นการกำหนด Integrity Rule ขึ้นเพื่อควบคุมค่าของ Attribute ต่างๆ ให้มีค่าเป็นไปตามที่กำหนด ดังเช่น ตัวอย่างคำสั่ง SQL
  การกำหนด Referential Integrity Rule เป็นการกำหนด Integrity Rule ขึ้นเพื่อควบคุมความถูกต้องในการอ้างถึงข้อมูลระหว่าง Table ต่างๆ ดังเช่น ตัวอย่างคำสั่ง SQL
6. ความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชั่นมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
     - มี 2 ประเภท คือ
1. รีเลชั่นหลัก (Base Relation)
    เป็นตารางที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจริงเพื่อนำข้อมูลไปใช้ ถูกสร้างด้วยภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (DDL) เช่น ภาษา SQL คำสั่ง Create Table เป็นการสร้าง Relation หลัก
2. วิว (View)
     เป็น ตารางที่ถูกสร้างขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน โดยทำการวิวจากรีเลชั่นหลัก ช่วยให้การรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลทำได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นวิวจึงเป็นตารางสมมติหรือตารางที่แปลค่ามา (Vertual Table หรือ Derives Table) จะไม่ถูกจัดเก็บจริง ๆ ในระบบ

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชาฐานข้อมูล

วิชาฐานข้อมูล
การบ้านบทที่ 3 ประจำวันที่ 17 พ.ย. 53
"วิชาฐานข้อมูลเบื้องต้น (4122201) ตอนเรียน A1
1.การแบ่งสถาปัตยกรรมของฐานข้อมูลออกเป็น 3 ระดับ มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ
ตอบ     1. ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องสนใจในรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะจัดเก็บแบบเรียงลำดับ , แบบดัชนี จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ DBMS  เป็นตัวจัดการ
            2. ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกัน และแสดงข้อมูลเพียงบางส่วนเท่าที่จำเป็น  โดยไม่ต้องแสดงข้อมูลให้ดูทั้งหมด
            3. ความอิสระของข้อมูล คือ ไม่ต้องทำการแก้ไขโปรแกรมทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของข้อมูล
 ********************************************
2.ความเป็นอิสระของข้อมูลมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อการจัดการฐานข้อมูล จงอธิบาย
ตอบ     ความเป็นอิสระของข้อมูล ( Data Independence ) คือ ภูมิคุ้มกันของโปรแกรมประยุกต์ ต่อการเปลี่ยนแปลง ในการแทนข้อมูลทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการเข้าถึงข้อมูล โดยไม่ต้องดัดแปลงโปรแกรมที่มี อยู่เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลง ดังกล่าว ซึ่งแสดงว่าโปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้องไม่ขึ้นอยู่กับวิธีการแทนข้อมูล ในระดับกายภาพหรือเทคนิค การเข้าถึงข้อมูลวิธีใดๆ โดยเฉพาะ เช่น การเปลี่ยนวิธีจาการเข้าถึงแบบตามลำดับ ให้เป็นการเข้าถึงแบบสุ่ม ปกติจะต้องมีการเขียน โปรแกรมประยุกต์นั้นใหม่หรือแก้ไขใหม่ให้เป็นไปตามเทคนิคการเข้าถึงแบบใหม่ หรือตามโครงสร้างการจัดเก็บใหม่ เป็นต้น
            การแบ่งระดับของข้อมูลรวมถึงการเชื่อมโยงของข้อมูล  ล้วนแต่เป็นจุดเด่นของฐานข้อมูล  ในด้านความเป็นอิสระของข้อมูล  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ความเป็นอิสระของข้อมูลเชิงตรรกะ ( Logical  Data  Independence )
         ความเป็นอิสระของข้อมูลเชิงตรรกะ    เป็นความอิสระของข้อมูลในระดับแนวคิด(Conceptual )  กับระดับภายนอก  ( External  Level )  นั่นเอง   หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระดับแนวคิด   จะไม่มีผลต่อเค้าร่างในระดับภายนอก  หรือโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน  หรือจะเป็นการปรับโครงสร้าง
2. ความเป็นอิสระในเชิงกายภาพ ( Physical Data  Independence ) ความเป็นอิสระในเชิงกายภาพ   เป็นความเป็นอิสระของข้อมูลภายใน  ( Internal  Level )  กับระดับแนวคิด  ( Conceptual  Level )  หรือระดับภายนอก    ( External  Level )  เช่นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียกดูข้อมูลให้เร็วขึ้น  โดยการปรับปรุงเค้าร่างภายใน  โดยไม่กระทบถึงเค้าร่างแนวคิด  หรือเค้าร่างภายนอก
  ********************************************
3. ปัญหาที่สำคัญของ Hierarchical Model คืออะไร และเหตุใด Hierarchical Model จึงไม่สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ทั้งหมด
ตอบ     เป็นฐานข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลในรูปแบบของ โครงสร้างต้นไม้ (tree structure) เป็นโครงสร้างลักษณะคล้ายต้นไม้เป็นลำดับชั้น ซึ่งแตกออกเป็นกิ่งก้านสาขา  หรือที่เรียกว่า เป็นการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะความสัมพันธ์แบบ พ่อ-ลูก (Parent-Child Relationship Type : PCR Type)
คุณสมบัติของฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น
1. Record ที่อยู่ด้านบนของโครงสร้างหรือพ่อ(Parent Record) นั้นสามารถมีลูกได้มากกว่าหนึ่งคน  แต่ลูก (Child Record) จะไม่สามารถมีพ่อได้มากกว่า 1 คนได้
            2. ทุก Record สามารถมีคุณสมบัติเป็น Parent Record(พ่อ) ได้
            3. ถ้า Record หนึ่งมีลูกมากกว่าหนึ่ง Record แล้ว การลำดับความสัมพันธ์ของ Child Record จะลำดับจากซ้ายไปขวา
ลักษณะเด่น
      •   เป็นระบบฐานข้อมูลที่มีระบบโครงสร้างซับซ้อนน้อยที่สุด
      •   มีค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างฐานข้อมูลน้อย
      •   ลักษณะโครงสร้างเข้าใจง่าย
      •   เหมาะสำหรับงานที่ต้องการค้นหาข้อมูลแบบมีเงื่อนไขเป็นระดับและออกงานแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง
      •   ป้องกันระบบความลับของข้อมูลได้ดี เนื่องจากต้องอ่านแฟ้มข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดก่อน
ข้อเสีย
      •   Record ลูก ไม่สามารถมี record พ่อหลายคนได้ เช่น นักศึกษาสามารถลงทะเบียนได้มากกว่า 1 วิชา
      •   มีความยืดหยุ่นน้อย เพราะการปรับโครงสร้างของ Tree ค่อนข้างยุ่งยาก
      •   มีโอกาสเกิดความซ้ำซ้อนมากที่สุดเมื่อเทียบกับระบบฐานข้อมูลแบบโครงสร้างอื่น
      •   หากข้อมูลมีจำนวนมาก การเข้าถึงข้อมูลจะใช้เวลานานในการค้นหา เนื่องจากจะต้องเข้าถึงที่ต้นกำเนิดของข้อมูล
                                                   ********************************************
4. เหตุใด Network Model ซึ่งสามารถแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้จึงไม่เหมาะกับการนำมาใช้งาน
ตอบ     ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย  จะเป็นการรวมระเบียนต่าง    และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์   คือ  ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้  โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กัน   จะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ในแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกันแต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย  จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน  โดยแสดงไว้ในโครงสร้าง  
                                                  ********************************************
5. สิ่งที่ทำให้ Relational Model ได้รับความนิยมอย่างมากคืออะไร จงอธิบาย
ตอบ     -  เหมาะกับงานที่เลือกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขหลายคีย์ฟิลด์ข้อมูลป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือแก้ไขได้ดี เนื่องจากโครงสร้างแบบสัมพันธ์นี้ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร จึงสามารถป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือถูกแก้ไขได้ดี   การเลือกดูข้อมูลทำได้ง่าย มีความซับซ้อนของข้อมูลระหว่างแฟ้มต่าง ๆ น้อยมาก อาจมีการฝึกฝนเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้ทำงานได้



วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


 Skype คือ อะไร
          Skype คือ โปรแกรม Instance Messenger ที่สามารถทำงานบนคอมพิวเตอร์ทั้งระบบปฏิบัติการ Window Macintosh Linux และ Window pocket PC เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารทั่วโลกผ่านทางเสียงที่มีคุณภาพ (Voice) ข้อความ (Chat) ข้อความด่วน (Instant Message) และใช้ส่งไฟล์แบบเรียลไทม์ (Real Time Send File) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 
Topology
          Topology คือ  โครงสร้างของเครือข่ายหรือภาษาทางเทคนิคเรียกว่า "Topology" คือลักษณะการเชื่อต่อทางกายภาพระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย ซึ่งหากจะแบ่งประเภทของโครงสร้างเครือข่ายกันจริง ๆก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ
           1. โครงสร้างแบบสตาร์ (Star Network )
           2. โครงสร้างแบบบัส ( Bus Network )
           3. โครงสร้างแบบริง ( Ring Network )
           4. โครงสร้างแบบเมซ ( Mesh Network )
 
โครงสร้างแบบสตาร์ ( Star Network)
          ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์จะคล้าย ๆ กับดาวกระจาย ดังรูปที่ได้แสดงไว้ คือมีอุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อแบบนี้มีประโยชน์คือ เวลาที่มีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลต่อการทำงานของระบบโดยรวมแต่อย่างใด
 
โครงสร้างเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
          คือ ลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูปที่ได้แสดงไว้ โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ ส่วนข้อดีคือโครงสร้างแบบบัสนี้ไม่ต้องมีอุปกรณ์อย่าง Hub หรือ Switch ใช้เพียงเส้นเดียวก็สามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก ปัจจุบันไม่ค่อยใช้กันแล้ว เนื่องจากไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทำให้ความเร็วถูกจำกัดอยู่ที่ 10 Mbps และถูกทดแทนโดยการเชื่อมต่อแบบสตาร์
 
โครงสร้างแบบริง ( Ring Network)
          โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวนดังรูปที่ได้แสดงไว้ การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกันไปเป็นทอด ๆ ถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยังเครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้นก็รับ ไม่ส่งต่อ โครงสร้างแบบนี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้
 
โครงสร้างเครือข่ายแบบเมซ (Mesh Network)
          เป็น Topology ที่ถือว่าป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเราเดินสาย Cable ไปเชื่อม ต่อกับ Station ทุก Station โดยเมื่อสายจาก Station ใดเกิดมีปัญหาขึ้นก็จะยังสามารถใช้สายอื่นที่เหลืออีกได้ ระบบนี้ยากต่อการ เดินสายและมีราคาแพงมาก จึงยังไม่เป็นที่นิยม
แบบStar
ข้อดี
1. เปลี่ยนแปลงรูปแบบการวางสายได้ง่าย
2. สามารถเพิ่ม node ได้ง่าย
3. ตรวจสอบจุดที่เป็นปัญหาได้ง่าย
ข้อเสีย
1. ต้องใช้สายเคเบิลจำนวนมาก
2. มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูง
3. การเชื่อมต่อจากศูนย์กลางทำให้มีโอกาสที่ระบบเครือข่ายจะล้มเหลวพร้อมกันได้ง่าย
 
แบบBus
ข้อดี
1.ใช้สายเคเบิลน้อยที่สุด
2. รูปแบบการวางสายง่ายมีความเชื่อถือได้สูงเนื่องจากเป็นรูปแบบ ที่ง่ายสามารถขยายระบบได้ง่าย
ข้อเสีย
1. ตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก
2. ระบบจะมีประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก
3. ถ้าการจราจรของข้อมูลสูง
แบบRing
ข้อดี
1. มีการใช้สายเคเบิลน้อย
2. มีประสิทธิภาพสูง แม้การจราจรของเครือข่ายจะมาก
ข้อเสีย
1. ถ้ามี node ที่เป็นปัญหาเกิดขึ้นในระบบจะกระทบกับ ทั้งเครือข่าย
2. การตรวจหาปัญหาทำได้ยาก
3. การเปลี่ยนแปลงเครือข่ายทำได้ยาก และอาจต้องหยุดการใช้งานเครือข่ายชั่วคราว
มาตรฐานของ Wireless Lan
          ปัจจุบันเทคโนโลยีเครือข่าย LAN แบบไร้สาย หรือ WLAN (Wireless LAN) กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากประโยชน์ของ WLAN มีอยู่มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง WLAN สร้างความสะดวกและอิสระในการใช้งานและติดตั้งเครือข่าย เทคโนโลยี WLAN ทำให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในบ้านหรือสำนักงานเข้าด้วยกันหรือต่อเข้ากับเครือข่ายไม่จำเป็นจะต้องใช้สายนำสัญญาณให้ยุ่งยากและดูเกะกะอีกต่อไป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งแบบตั้งโต๊ะและพกพาสามารถเชื่อมต่อถึงกันหรือเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายจากตำแหน่งต่างๆ ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณได้อย่างอิสระ
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมาตรฐาน IEEE 802.11
          มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2540 โดย IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) และเป็นเทคโนโลยีสำหรับ WLAN ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด คือข้อกำหนด (Specfication) สำหรับอุปกรณ์ WLAN ในส่วนของ Physical (PHY) Layer และ Media Access Control (MAC) Layer โดยในส่วนของ PHY Layer มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้กำหนดให้อุปกรณ์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 Mbps โดยมีสื่อ 3 ประเภทให้เลือกใช้ได้แก่ คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 2.4 และ 5 GHz, และ อินฟราเรด (Infarred) (1 และ 2 Mbps เท่านั้น)
 
วิวัฒนาการของมาตรฐาน IEEE 802.11
          มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งอุปกรณ์ตามมาตรฐานดังกล่าวจะมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1 และ 2 Mbps ด้วยสื่อ อินฟราเรด (Infarred) หรือคลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz และมีกลไก WEP ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับสร้างความปลอดภัยให้กับเครือข่าย WLAN ได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากมาตรฐาน IEEE 802.11 เวอร์ชันแรกเริ่มมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำและไม่มีการรองรับหลักการ Quality of Service (QoS) ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด อีกทั้งกลไกรักษาความปลอดภัยที่ใช้ยังมีช่องโหว่อยู่มาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทำงาน (Task Group) ขึ้นมาหลายชุดด้วยกันเพื่อทำการปรับปรุงเพิ่มเติมมาตรฐานให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยคณะทำงานกลุ่มที่มีผลงานที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ IEEE 802.11a, IEEE 802.11b, IEEE 802.11e, IEEE 802.11g, และ IEEE 802.11i
IEEE 802.11b
          คณะทำงานชุด IEEE 802.11b ได้ตีพิมพ์มาตรฐานเพิ่มเติมนี้เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด มาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ผนวกกับ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อปรับปรุงความสามารถของอุปกรณ์ให้รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ผ่านคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz (เป็นย่านความถี่ที่เรียกว่า ISM (Industrial Scientific and Medical) ซึ่งถูกจัดสรรไว้อย่างสากลสำหรับการใช้งานอย่างสาธารณะด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้ก็เช่น IEEE 802.11, Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สาย, และเตาไมโครเวฟ) ส่วนใหญ่แล้วอุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
IEEE 802.11a
          คณะทำงานชุด IEEE 802.11a ได้ตีพิมพ์มาตรฐานเพิ่มเติมนี้เมื่อปี พ.ศ. 2542 มาตรฐาน IEEE 802.11a ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อปรับปรุงความสามารถของอุปกรณ์ให้รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps แต่จะใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ซึ่งเป็นย่านความถี่สาธารณะสำหรับใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์อื่นน้อยกว่าในย่านความถี่ 2.4 GHz อย่างไรก็ตามข้อเสียหนึ่งของมาตรฐาน IEEE 802.11a ที่ใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ก็คือในบางประเทศย่านความถี่ดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างสาธารณะ ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการใช้งานอุปกรณ์ IEEE 802.11a เนื่องจากความถี่ย่าน 5 GHz ได้ถูกจัดสรรสำหรับกิจการอื่นอยู่ก่อนแล้ว
IEEE 802.11g
          คณะทำงานชุด IEEE 802.11g ได้ใช้นำเทคโนโลยี OFDM มาประยุกต์ใช้ในช่องสัญญาณวิทยุความถี่ 2.4 GHz ซึ่งอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ส่วนรัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN จะอยู่ระหว่างรัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11a และ IEEE 802.11b เนื่องจากความถี่ 2.4 GHz เป็นย่านความถี่สาธารณะสากล อีกทั้งอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ IEEE 802.11b WLAN ได้ (backward-compatible) ดังนั้นจึงมีแนวโน้มสูงว่าอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN จะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายหากมีราคาไม่แพงจนเกินไปและน่าจะมาแทนที่ IEEE 802.11b ในที่สุด ตามแผนการแล้วมาตรฐาน IEEE 802.11g จะได้รับการตีพิมพ์ประมาณช่วงกลางปี พ.ศ. 2546
IEEE 802.11e
          คณะทำงานชุดนี้ได้รับมอบหมายให้ปรับปรุง MAC Layer ของ IEEE 802.11 เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานหลักการ Qualitiy of Service สำหรับ application เกี่ยวกับมัลติมีเดีย (Multimedia) เนื่องจาก IEEE 802.11e เป็นการปรับปรุง MAC Layer ดังนั้นมาตรฐานเพิ่มเติมนี้จึงสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN ทุกเวอร์ชันได้ แต่อย่างไรก็ตามการทำงานของคณะทำงานชุดนี้ยังไม่แล้วเสร็จในขณะนี้ (พฤษภาคม พ.ศ. 2546)
IEEE 802.11i
          คณะทำงานชุดนี้ได้รับมอบหมายให้ปรับปรุง MAC Layer ของ IEEE 802.11 ในด้านความปลอดภัย เนื่องจากเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN มีช่องโหว่อยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ด้วย key ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คณะทำงานชุด IEEE 802.11i จะนำเอาเทคนิคขั้นสูงมาใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลด้วย key ที่มีการเปลี่ยนค่าอยู่เสมอและการตรวจสอบผู้ใช้ที่มีความปลอดภัยสูง มาตรฐานเพิ่มเติมนี้จึงสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN ทุกเวอร์ชันได้ แต่อย่างไรก็ตามการทำงานของคณะทำงานชุดนี้ยังไม่แล้วเสร็จในขณะนี้
ลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN
          มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้กำหนดลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ภายในเครือข่าย WLAN ไว้ 2 ลักษณะคือโหมด Infrastructure และโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer
1.   โหมด Infrastructure
          โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ในเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN จะเชื่อมต่อกันในลักษณะของโหมด Infrastructure ซึ่งเป็นโหมดที่อนุญาตให้อุปกรณ์ภายใน WLAN สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ในโหมด Infrastructure นี้เครือข่าย IEEE 802.11 WLAN จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 2 ประเภทได้แก่ สถานีผู้ใช้ (Client Station) ซึ่งก็คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Desktop, Laptop, หรือ PDA ต่างๆ) ที่มีอุปกรณ์ Client Adapter เพื่อใช้รับส่งข้อมูลผ่าน IEEE 802.11 WLAN และสถานีแม่ข่าย (Access Point) ซึ่งทำหน้าที่ต่อเชื่อมสถานีผู้ใช้เข้ากับเครือข่ายอื่น
2.  โหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer
          เครือข่าย IEEE 802.11 WLAN ในโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer เป็นเครือข่ายที่ปิดคือไม่มีสถานีแม่ข่ายและไม่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น บริเวณของเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN ในโหมด Ad-Hoc จะถูกเรียกว่า Independent Basic Service Set (IBSS) ซึ่งสถานีผู้ใช้หนึ่งสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกับสถานีผู้ใช้อื่นๆในเขต IBSS เดียวกันได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านสถานีแม่ข่าย แต่สถานีผู้ใช้จะไม่สามารถรับส่งข้อมูลกับเครือข่ายอื่นๆได้