1.จงสรุปแนวคิดในการจัดการข้อมูลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
- การจัดการข้อมูลเริ่มจากการบันทึกข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นการบันทึกข้อมูลลงกระดาษหรือสมุด เพื่อช่วยในการจดจำ แต่เมื่อมีข้อมูลเพิ่มขึ้น รูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลก็เปลี่ยนไปให้มีระบบระเบียบมากขึ้น โดยมีการบันทึกข้อมูลลงแฟ้มเอกสารต่างๆ ที่จัดไว้เป็นหมวดหมู่ และมีการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลลงในสื่อบันทึกข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยจัดเก็บเป็นแฟ้มข้อมูลเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลจาก แฟ้มนั้นได้
2.โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
- 1. Bit ประกอบด้วยเลขฐานสอง ใช้แทนค่าหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ จะมีอยู่เพียงสองสถานะ คือ 0 หรือ 1
2. Byte ประกอบด้วยจำนวน Bit เช่น 1 ไบต์มี 8 บิต เพื่อสร้างรหัสแทนข้อมูล เช่น ตัวอักษรคือ 01001010 J
3. Field คือ การนำตัวอักษรมารวมกันเพื่อให้เกิดความหมาย เช่น STD_NAME เป็นฟิลด์ที่ใช้เก็บชื่อนักศึกษา
4. Record คือ กลุ่มของ Field ที่สัมพันธ์กัน เช่น record ของนักศึกษา ประกอบด้วย field รหัส นศ., ชื่อ-นามสกุล, วิชาที่ลง,เกรดที่ได้
5. File คือ กลุ่มของ Record ที่สัมพันธ์กัน เช่น แฟ้มประวัตินักศึกษาประกอบด้วย record ของนักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัย
- 1.เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2.เกิดความขัดแย้งของข้อมูล
3.ข้อมูลขาดมาตรฐาน
4.เกิดข้อจำกัดของการใช้ข้อมูลร่วมกัน
ยุ่งยากในการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเมื่อโครงสร้างแฟ้มข้อมูลเปลี่ยนแปลง
4.ฐานข้อมูลคืออะไร และยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่นักศึกษารู้จักมา 2 ระบบ
- คือ กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐาน ข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กร
ตัวอย่าง
- ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (RELATIONAL DATABASE)
เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชั่น (RELATION) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็นแถวและเป็นคอลัมน์ การเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตารางจะเชื่อมโยงโดยใช้แอททริบิวต์ (ATTRIBUTE) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล
- ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะเป็นการรวมระเบียนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียนแต่จะต่างกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะแฝงความสัมพันธ์เอาไว้ โดยระเบียนที่มีความสัมพันธ์กัน จะต้องมีค่าของข้อมูลในแอททริบิวต์ในแอททริบิวต์หนึ่งเหมือนกันแต่ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย จะแสดงความสัมพันธ์อย่างชัดเจน โดยแสดงไว้ในโครงสร้าง
- 1.หลีก เลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล โดยข้อมูลเรื่องเดียวกันอาจมีอยู่หลายแฟ้มข้อมูล ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งของข้อมูลได้ ( Inconsistency )
2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน เมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลที่แตกต่างกันจะทำได้ง่าย
3. สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะแฟ้มข้อมูล อาจทำให้ข้อมูลประเภทเดียวกันถูกเก็บไว้หลาย ๆ แห่ง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนได้
4. รักษาความถูกต้อง ฐานข้อมูลบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดขึ้น เช่น การป้อนข้อมูลผิด ซึ่งระบบการจัดการฐานข้อมูล สามารถระบุกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
5. สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ เพราะในระบบฐานข้อมูลจะมีกลุ่มบุคคลที่คอยบริหารฐานข้อมูล กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ในการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกัน
6. สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้ ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดการเรียกใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนให้แตกต่างกันตามหน้าที่ ความรับผิดชอบได้ง่าย
7. ความเป็นอิสระของข้อมูลและโปรแกรม โปรแกรมที่ใช้ในแต่ละแฟ้มข้อมูลจะมีความสัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลโดยตรง ถ้าหากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลก็ทำการแก้ไขโปรแกรมนั้น ๆ
- เป็น กลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูล
7.ยกตัวอย่างฐานข้อมูลกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
- รายการชำระค่าหอ มีการบัทึกข้อมูลฐานข้อมูล
รายชื่อพนักงาน มีการบันทึกข้อมูลไปยังฐานข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น